วิธีประดิษฐ์อักษรจีน (汉字造字方法)

วิธีประดิษฐ์อักษรจีน (汉字造字方法)

วิธีประดิษฐ์อักษรจีน (汉字造字方法)

อักษรจีนมีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน จึงไม่สามารถระบุจำนวนแน่ชัดได้ว่า มีจำนวนมากเท่าใด แต่มีพจนานุกรมบางเล่ม ได้ระบุอักษรจีนไว้ถึง แปดหมื่นตัวกว่าตัว โดยที่บางส่วนมีการยกเลิกใช้ไปแล้วและ ในปัจจุบันการรู้จักตัวอักษรจีนเพียงไม่กี่พันตัวก็สามารถสื่อสารกับชาวจีนได้อย่างปกติ

     วิธีการสร้างอักษรจีนนี้มีมานาน แต่เป็นที่รู้จักแพร่หลายจาก หนังสือคัมภีร์อักษรจีนโบราณ ที่ชื่อว่า ซัวเหวินเจี่ยจื้อ 《说文解字》ของสวี่ เซิ่น ในสมัย ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ในหนังสือ “ทฤษฎีลิ่วซู 六书” ซึ่งได้แบ่งวิธีการประดิษฐ์อักษรจีนเป็น 6 วิธี ได้แก่

1️⃣ 象形字 อักษรรูปภาพ หรือ อักษรลอกเลียนรูป

2️⃣ 指事字 อักษรแสดงความหมาย หรือ อักษรบ่งชี้ความหมาย

3️⃣ 会意字 อักษรรวมความหมาย หรือ อักษรผสานความ

4️⃣ 形声字 อักษรรูปควบเสียง หรือ อักษรรูปเสียงประสาน

5️⃣ 专注字 อักษรขยายความ หรือ อักษรยืมอธิบายความ

6️⃣ 假借字 อักษรคำยืม หรือ อักษรยืมใช้

โดยหลักการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์คำใหม่นั้นมีเพียง 4 ประเภทแรกเท่านั้น

象形字 อักษรรูปภาพหรืออักษรลอกเลียนรูป

คือ อักษรที่ประดิษฐ์ จากการเลียนแบบลักษณะภายนอก หรือ ลักษณะเฉพาะของสิ่งต่างๆ เป็นการสื่อลักษณะสิ่งที่ปรากฏ อักษรจีนระยะแรกเริ่มส่วนใหญ่เป็นอักษรภาพที่มาจากการวาดภาพเลียนแบบ ค่อนข้างเรียบง่าย เป็นสัญลักษณ์อันเด่นชัดแทนสิ่งใดสิ่งหนึ่งดังตัวอย่างในตารางด้านล่างนี้

指事字 อักษรแสดงความหมายหรืออักษรบ่งชี้ความหมาย
เป็น วิธีประดิษฐ์อักษรจีนที่ใช้สัญลักษณ์นามธรรมมาระบุ บ่งชี้ เพื่อสื่อความหมายของตัวอักษร เช่น

会意字 อักษรรวมความหมายหรืออักษรผสานความ
วิธีประดิษฐ์อักษรจีน ที่มาจากการรวมความหมาย หรือ การประสมความหมายเข้าด้วยกัน คือ การนำนำษรสองตัวหรือมากกว่ามาประกอบเข้าด้วยกันเพื่อประดิษฐ์เป็นอักษรตัวใหม่ โดยที่ความหมายของตัวอักษรตัวใหม่จะสัมพันธ์กับอักษรที่นำมาประกอบเข้าด้วยกัน เช่น

形声字 อักษรรูปควบเสียงหรืออักษรรูปเสียงประสาน
คือ อักษรที่ประกอบด้วย “ส่วนบอกรูป (形旁)” กับ “ส่วนบอกเสียง (声旁)” จึงเรียกว่า 形声字อักษรรูปควบเสียงหรืออักษรรูปเสียงประสาน ซึ่งเป็นวิธีที่ค่อนข้างง่ายและสะดวกในการประดิษฐ์อักษรใหม่ๆ ซึ่งทำให้วิธีประดิษฐ์อักษรวิธีนี้มีมากถึงร้อยละ 90 ของอักษรจีนทั้งหมด

专注字 อักษรขยายความหรืออักษรยืมอธิบายความ
โดยทั่วไปจะเลือกอักษรที่มีอยู่ก่อนแล้วและมีความหมายใกล้เคียงกับความหมายใหม่ตามต้องการ นำมาเพิ่มเติมหรือประกอบเข้ากับอักษรอื่นเพื่อสร้างอักษรใหม่ ดังนั้น รูป เสียงอ่านหรือความหมายของอักษรที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่จะมีความหมายใกล้เคียงกับความหมายเดิมของรากคำ เช่น

假借字 อักษรคำยืมหรืออักษรยืมใช้
เมื่อมีคำใหม่ๆเกิดขึ้น บางครั้งก็มีเพียงเสียงอ่านแต่ยังไม่มีอักษร กรณีเช่นนี้อาจยืมคำที่มีอยู่แล้ว ซึ่งมีเสียงอ่านหรือความหมายใกล้เคียงมาใช้แทน เช่น


เรียบเรียงและสรุปโดย ณรงค์ชัย จันทร์ปัญญา

ข้อมูลประกอบการเรียบเรียงข้อมูล

การสร้างตัวอักษรจีน เข้าถึงได้จาก https://www.suixinxuehanyu.com/alaf

วิภา ลู่โรจน์เรือง. ต้นกำเนิดอักษรจีน. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ , 2559.

汉字造字法 เข้าถึงได้ จาก https://www.suixinxuehanyu.com/j94l

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Facebook Messenger
error: ไม่สามารถคัดลอกได้ !!