ชนิดคำในภาษาจีน 汉语词类

ชนิดคำในภาษาจีน 汉语词类

ชนิดคำในภาษาจีน 汉语词类

ชนิดคำในภาษาจีนมี 13 ประเภท ดังนี้

  • 名词 (míng cí) คำนาม
  • 代词 (dài cí) คำสรรพนาม
  • 动词 (dòng cí) คำกริยา
  • 助动词 (zhù dòng cí) คำกริยานุเคราะห์
  • 形容词 (xíng róng cí) คำคุณศัพท์
  • 数词 (shù cí) คำบอกจำนวน
  • 量词 (liàng cí) คำลักษณะนาม
  • 副词 (fù cí) คำวิเศษณ์
  • 介词 (jiè cí) คำบุพบท
  • 连词 (lián cí) คำสันธาน
  • 助词 (zhù cí) คำเสริม
  • 叹词 (tàn cí) คำอุทาน
  • 象声词 (xiàng shēng cí) คำเลียนเสียง

  1. 名词 (míng cí) คำนาม คือ คำที่ใช้แสดงชื่อของคน สัตว์หรือสิ่งต่างๆมี 7 ชนิด ดังนี้
  • คำนามธรรมดา 一般名词 เช่น หนังสือ (书) ปากกา (笔) โทรศัพท์ (手机) โต๊ะ (桌子)
  • คำนามเฉพาะ 专有名词 เช่น ประเทศจีน (中国) ประเทศไทย (泰国) กรุงเทพฯ (曼谷) ครูจาง (张老师) จังหวัดขอนแก่น (孔敬府)
  • คำนามแสดงหมวดหมู่ 集体名词 เช่น มนุษยชาติ (人类) ชนชาติ(民族) ภูเขาลำธาร (山川)
  • คำนามเชิงนามธรรม 抽象名词 เช่น ความรัก (爱情) ความคิด (思想) วัฒนธรรม (文化)
  • คำนามแสดงทิศทางตำแหน่ง 方位名词 เช่น นอก(外) ใน (内) บน (上) ซ้าย(左) ตะวันออก (东)
  • คำนามแสดงเวลา 时间名词 เช่น ปี (年) เดือน (月) วันนี้ (今天) วันจันทร์(星期一)
  • คำนามแสดงสถานที่ 处所名词 เช่น โรงเรียน (学校) ธนาคาร (银行) ห้องสมุด (图书馆)

2. 代词 (dài cí) คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้เรียกแทนคำนาม คำกริยา คำคุณศัพท์ คำบอก
จำนวนหรือคำคำกริยาวิเศษณ์แบ่งออกเป็น มี 3 ชนิด ดังนี้

  • บุรุษสรรพนาม 人称代词 คือ สรรพนามแทนชื่อบุคคลหรือสิ่งต่างๆ
ชนิด 类别เอกพจน์ 单数พหูพจน์ 复数
สรรพนามบุรุษที่ 1ฉัน (我)พวกเรา (我们)
สรรพนามบุรุษที่ 2คุณ (你)、ท่าน (您)พวกคุณ (你们)
สรรพนามบุรุษที่ 3เขา (你)、เธอ (她)、มัน (它)พวกเขา (他们)、พวกเธอ (她们)、พวกมัน (它们)
อื่นๆตนเอง (自己) คนอื่น (别人) ทุกคน (大家)ตนเอง (自己) คนอื่น (别人) ทุกคน (大家)
  • ปฤจฉาสรรพนาม 疑问代词 คือ สรรพนามที่แสดงถึงการถามถึงบุคคลสรรพสิ่ง เหตุการณ์ เวลา สถานที่ ลักษณะและคุณสมบัติ รูปแบบวิธีการ จำนวน เป็นต้น
ชนิด 类别ปฤจฉาสรรพนาม 疑问代词
บุคคลใคร (谁)
สรรพสิ่ง/เหตุการณ์อะไร (什么) 、ไหน (哪)
เวลานานเท่าไหร่ (多久) 、ตอนไหน เมื่อไร (哪会儿)
สถานที่ที่ไหน ตรงไหน (哪儿、哪里)
รูปแบบ ลักษณะ คุณสมบัติอย่างไร (怎么) 、เป็นอย่างไร (怎样、怎么样)
จำนวนเท่าไร (几、多少)
ระดับความเข้มข้นเท่าไร (多)、 ขนาดไหน (多么)
  • นิยมสรรพนาม 指示代词 คือ สรรพนามที่ใช้สำหรับเจาะจงคน สิ่งของหรือต่างๆ
ชนิดระยะใกล้ระยะไกลทั่วไปเจาะจง
คน สิ่งของ เรื่องราว这、这个人、这件事那、那个人、那件事各、某、
其他、其它。
每、该、本。
สถานที่ ตำแหน่ง这里=这儿那里=那儿 各、某、
其他、其它。
每、该、本。
เวลา这时、这会儿那时、那会儿 各、某、
其他、其它。
每、该、本。
คุณสมบัติ วิธีการ ระดับ这么、这样、这么样那么、那样、那么样 各、某、
其他、其它。
每、该、本。

3. 动词 (dòng cí) คำกริยา คำที่แสดงอาการ การกระทำ พฤติกรรม การคงอยู่ เปลี่ยนแปลง การพัฒนา ความรู้สึกของบุคคลหรือสิ่งต่างๆ มี 6 ชนิด ดังนี้

  • การกระทำ พฤติกรรม 动作、行为 เช่น กิน (吃) นั่ง (坐) นอน (睡觉) เรียน (学习) ทำ (做)
  • การเปลี่ยนแปลง การพัฒนา 变化,发展 เช่น เกิด (生) ตาย(死) พัฒนา (发展) เปลี่ยนแปลง(变化)
  • ความรู้สึกนึกคิด 心理活动 เช่น คิด (想) รัก (爱) ชอบ (喜欢) กลัว(怕) โกรธ (生气)
  • ร้องขอ การสั่ง 使令 เช่น ให้ (ทำ ปฏิบัติ) (叫,让) ทำให้ (使) อนุญาต (批准) แจ้งให้ทราบ (通知) ห้าม (禁止) เชิญ (请)
  • การวินิจฉัย ครอบครอง ดำรงอยู่ 判断,领有,存在 เช่น เป็น คือ ใช่ (是) มี(有) อยู่ (在) มีอยู่ คงอยู่(存在)
  • ทิศทางการเคลื่อนไหว 趋向 เช่น ขึ้น (上) ลง (下) ไป (去) มา (来) กลับ (回) เข้า (进) ออก (出)

หากแบ่งตามบทกรรมได้หรือไม่ ในภาษาจีนมีอยู่ 2 ชนิด คือ

  • สกรรมกริยา 及物动词 คือ กริยาที่สามารถมีบทกรรมได้
    • เช่น กินข้าว (饭) ดื่มน้ำ (水)
      ใส่เสื้อ (穿衣服) รู้สึกเสียใจ (感到伤心)
  • อกรรมกริยา 不及物动词 คือ กริยาที่ไม่สามารถมีบทกรรมได้
    • เช่น ทำงาน (工作) พักผ่อน(休息)ใช้ชีวิต (生活) ออกเดินทาง(出发) ชนะ (胜利) ถ่ายรูป(摄影)

4. 助动词 (zhù dòng cí) คำกริยานุเคราะห์ คือ คำที่แสดงความสามารถ ความเป็นไปได้ ความจำเป็น ความปรารถนา ฯลฯ มี 5 ประเภท ดังนี้

ชนิด 类别คำกริยานุเคราะห์ 助动词、能愿动词 
ทักษะ ความสามารถ会、能、能够、可以
ความเป็นไปได้ 会、能、能够、可以、可能
สมควร 应、应该、应当、该
ความจำเป็น 必须、得(děi)、要
ความปรารถนา 愿、愿意、情愿、甘愿、要、想、
敢、肯

5. 形容词 (xíng róng cí) คำคุณศัพท์ คือ คำที่แสดงคุณสมบัติหรือสภาวะของคน สิ่งของ
การกระทำหรือพฤติกรรม มี 2 ชนิด ดังนี้

ชนิด 类别คำศัพท์ตัวอย่าง 例词
สภาวะคุณสมบัติ หรือสภาวะของคน
เรื่องราวหรือสิ่งของ
ดี (好)、 เลว(坏)、ขาว (白)、สีแดง (红)、ใหญ่ (大)、สวย (美)、สะอาด (干净)、ถูก (便宜)、แพง (昂贵)
สภาวะของการกระทำหรือ
พฤติกรรม
เร็ว (快)、ช้า (慢) 、กล้าหาญ (勇敢)、
รีบเร่ง (匆忙)、จริงจัง (认真)、ตื่นเต้น (激动)

6. 数词 (shù cí) คำบอกจำนวน คือ คำที่แสดงจำนวนและตัวเลข ดังนี้

  • เลขจำนวนเต็ม (整数) เช่น ศูนย์ (零)、สี่ (四) 、ร้อย (百)、พัน (千)、 หมื่น (万)
  • เลขเศษส่วน (分数) โดยโครงสร้าง x分之x แสดงเลขเศษส่วนโดยเลขที่อยู่ข้างหน้าเป็นส่วน เลขที่อยู่ข้างหลังเป็นเศษ เช่น 二分之一 (1/2)、三分之四 (3/4) 、百分之十七 (17﹪)
  • เลขทศนิยม (小数) โดยจุดทศนิยมอ่านว่า 点 เลขที่อยู่ข้างหน้าจุดทศนิยมอ่านตามวิธีนับเลขส่วนเลขที่อยู่ข้างหลังอ่านทีละตัวเช่น 0.21 (零点二一) 3.14159 (三点一四一五九)
  • เลขจำนวนผลคูณ (倍数) ใช้ลักษณนาม ตามหลังตัวเลขเพื่อแสดงผลคูณ เช่น 2 เท่า (两)、7.5 เท่า (七点五) 、1oo เท่า (一百)
  • เลขประมาณ (概数) ใช้เลขติดกันสองจำนวน ส่วนเลข 9 กับ 10 และเลข 10 กับ 11 ไม่สามารถใช้ตามข้อนี้ได้ เช่น 一两天、两三本、十三四岁、七八个人
    • ใช้ศัพท์แสดงการประมาณประกอบหน้าหรือหลังคำบอกจำนวน หน้าคำบอกจำนวน 大概十个、近四年、约两万泰铢 หลังคำบอกจำนวน 十多公斤、三天左右、一百来个公司 三十岁上下、十个以上、二十以内
  • เลขลำดับ (序数)
    • ใช้คำว่า 第 หน้าจำนวนเต็ม เช่น 第一、第二、第几
    • การแสดงวัน เดือน ปี วันที่ เช่น 2020年6月13日星期日
    • การแสดงระดับชั้น เช่น 头(等)二(等)
    • การยกตัวอย่างตามลำดับก่อนหลัง เช่น 首先、其次、第三
    • การเรียงลำดับรุ่นญาติพี่น้อง เช่น 大(哥)、二(弟)、老三
    • การเรียงลำดับ เช่น 一(班)二(班)
  • คำบอกจำนวนพิเศษ (半)
    • ถ้าไม่มีเลขจำนวนเต็ม 半 ต้องอยู่หน้าลักษณนาม เช่น 公斤 、
    • ถ้าไม่มีเลขจำนวนเต็ม 半 ต้องอยู่หน้าลักษณนาม เช่น 三公斤、 三年

7. 量词 (liàng cí) คำลักษณะนาม คือ คำนามที่แสดงลักษณะของสิ่งต่างๆเพื่อใช้เป็นหน่วยนับของคน สิ่งของหรือการกระทำ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ลักษณนามนับนาม (名量词)และลักษณนามนับการกระทำ (动量词)

  • ลักษณนามนับนาม (名量词) มีมากมายหลากหลาย เช่น
    • 个 (คน เกี่ยวกับคน) : 人、工人、同学、代表
    • 条 (สาย เส้น ตัว สิ่งของหรือสัตว์ที่ยาวๆ) :河、路、鱼、裤子
    • 棵 (ต้น พืชชนิดต่างๆ) :树、菜、白菜、植物、葡萄
    • 张 (แผ่น ใบ สิ่งลักษณะแผ่นๆ) :桌子、纸、照片、脸、床
    • 群 (ฝูง กลุ่ม) :一群羊、一群鸟、一群人、一群孩子
    • 家(ร้าน แห่ง) :商店、饭馆、酒店、医院、公司
    • 对(คู่) : 一对熊猫、一对夫妻、一对枕头、一对花瓶
  • ลักษณนามนับการกระทำ (动量词) เช่น
    • 次 (ครั้ง) : 去一次、试两次、问三次、看四次
    • 回 (หน คราว ครั้ง) :去一回、试两回、问三回、看四回
    • 遍 (รอบ) :看一遍、说两遍、听三遍
    • 下 (ที) : 打一下、敲两下、踢四下
    • 场(รอบ นัด) :下一场雨、下两场雪、踢三场球
    • 顿(มื้อ ครั้ง) :吃两顿、打一顿、骂一顿
    • 趟(เที่ยว) :去一趟、来两趟、跑三趟

8. 副词 (fù cí) คำวิเศษณ์ คือ คำที่ขยายคำกริยาหรือคำคุณศัพท์ ทำหน้าที่แสดงระดับเวลา ขอบเขต รูปแบบของกริยาอาการ การปฏิเสธ ความเป็นไปได้ น้ำเสียง ฯลฯ

ชนิด 类别คำศัพท์ตัวอย่าง 例词
แสดงระดับ很、非常、十分、挺、特别、稍微、比较、最、太、有点儿、更加、过于、格外、相当。
แสดงน้ำเสียง也许、大概、或许、难道、偏偏、幸亏、居然、到底、几乎、好在、果真、明明、反而、只好。
แสดงเวลา ความถี่已经、正在、正、在、立刻、马上、曾经、刚刚、刚、将要、才、便、仍然、一直、终于。
แสดงสถานที่处处、到处、随处、遍地、四处
แสดงขอบเขต都、总、共、总共、统统、只、仅仅、单、净、光、一律、就
แสดงการเน้นย้ำ
ยืนยัน ปฏิเสธ
必、必须、准、的确、不、没有、没、未、别、莫、勿、不必(甭)
แสดงลักษณะอาการ单独、互相、亲自、依然、逐渐、大力、相继、偷偷、悄悄、渐渐
แสดงความเกี่ยวข้อง越……越、又

9. 介词 (jiè cí) คำบุพบท คือ คำที่ทำหน้าที่เชื่อมหรือต่อคำ วางไว้หน้าคำนาม คำสรรพนามหรือคำชนิดใดชนิดหนึ่ง เพื่อแสดงเวลา สถานที่ ทิศทาง เป้าหมาย มูลเหตุ วิธีการ วัตถุประสงค์ การเปรียบเทียบหรือการตัดประเด็นอื่น

ชนิด 类别คำศัพท์ตัวอย่าง 例词
แสดงเวลา
สถานที่ ทิศทาง
在、自、自从、往、向、朝、从、由、离、趁、随着、沿着、向着、顺着、朝着、冲着
แสดงเป้าหมายของ
กริยาอาการ
对、对于、关于、至于、和、跟、与、给、同、把、被、让、叫、将、替、连
แสดงวิธีการ按照、依照、本着、凭着、凭、以、根据、靠、通过
แสดงมูลเหตุและวัตถุประสงค์因、因为、由于、以为、为了、为着
แสดงการเปรียบเทียบ比、和、跟、同与
แสดงการจัดประเด็นอื่น除了、除开、除去

10. 连词 (lián cí) คำสันธาน คือ คำที่เชื่อมโยงคำ วลี หรือประโยค

ชนิด 类别 คำศัพท์ตัวอย่าง 例词
อยู่ตรงกลางเพื่อ
เชื่อมคำหรือวลี
和、与、跟、同、并、并且、及、以及、或、或者、而
อยู่ข้างหน้าเพื่อ
เสนอข้อความ
不光、不但、不仅、不只、虽然、尽管、即使、因为、由于、既然、宁可、如果、要是、只要、不管
อยู่ข้างหลังเพื่อรองรับ
ข้อความข้างหน้า
而且、甚至、何况、从而、因而、因此、所以、于是、然后、不如、但是、可是、不过、却、不然

11. 助词 (zhù cí) คำเสริม คือ คำที่ใส่ไว้หลังคำ วลี หรือประโยคเพื่อเสริมความหมาย หรือเสริมความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์หรือเสริมน้ำเสียง (โดยปกติอยู่ลำพังไม่ได้โดยปกติจะมีตำแหน่งคงที่ในประโยค คำเสริมส่วนใหญ่มักออกเสียงเบา)

ชนิด 类别 คำศัพท์ตัวอย่าง 例词
คำเสริมโครงสร้าง
结果助词
的(de)、地(de)、得(de)
คำเสริมอาการ
动态助词
着(zhe)、了、过(guo)、呢
คำเสริมน้ำเสียง
语气助词
的、了、吗、呢、吧、啊、啦、嘛、呗、么、罢了、而已

12. 叹词 (tàn cí) คำอุทาน คือ คำที่เปล่งเสียงออกมาเพื่อแสดงการเรียก ตอบรับหรือความรู้สึกทางอารมณ์ เช่น

คำอุทานความหมายที่แสดงคำเทียบภาษาไทยประโยคตัวอย่าง/คำแปลภาษาไทย
啊 (a)ประหลาดใจ ทึ่งโอ้ โอ้โห啊,长城太雄伟了。
โอ้โฮ กำแพงเมืองจีนยิ่งใหญ่เหลือเกิน
哎 (āi)ประหลาดใจ
ไม่พอใจ
เอ้อเฮอ ฮ้า ฮ้าว哎,想不到你也来了。
อ้าว คิดไม่ถึงว่าเธอก็มาเหมือนกัน
哎呀 (āi yā)ประหลาดใจ
ตกใจ
โอ้โฮ อุ๊ย哎呀,这种玫瑰真漂亮。
โอ้โฮ กุหลาบชนิดนี้สวยจริงๆ
嗯 (èn)ตอบรับฮ่อ อือ เออ อืม嗯,我答应你的条件!เออ ฉันยอมรับเงื่อนไขของคุณ

13. 象声词 (xiàng shēng cí) คำเลียนเสียง คือ คำที่เลียนแบบเสียงของวัตถุของวัตถุหรือกริยาต่างๆ เช่น

คำเลียนเสียงภาษาไทยที่เทียบได้เสียงที่เลียนแบบ
哈哈ฮ่าๆเสียงหัวเราะ
轰隆/轰隆隆ครืนๆ เปรี้ยง โครมคราม
ตูม ตูมตาม บึ้ม
เสียงฟ้าร้อง ระเบิด ปืนใหญ่ ฯลฯ
汪汪บ๊อกๆ โฮ่งๆเสียงสุนัข
哇哇ว้ากๆ แงๆ โฮเสียงร้องไห้ โห่ร้อง
呼呼อู้ๆ วูดวาดเสียงลมพัดแรง
喵喵เมียวๆเสียงแมว
嗡/嗡嗡หึ่งๆ หวี่ๆเสียงแมลงบินหรือเสียงเครื่องจักร

ข้อมูลประกอบการจัดทำ

ฝ่ายวิชาการสำนักพิมพ์แมนดารินเอดูเคชั่น.คู่มือการเรียนการสอนภาษาจีน ฉบับปรับปรุง.(2558).กรุงเทพฯ:แมนดาริน.
เหยิน จิ่งเหวิน.ไวยากรณ์จีน ฉบับเปรียบเทียบ.(2555).กรุงเทพฯ:อมรินทร์.

https://www.suixinxuehanyu.com/cilei

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Facebook Messenger
error: ไม่สามารถคัดลอกได้ !!