สีซอให้ควายฟัง : สำนวนจีน

สีซอให้ควายฟัง : สำนวนจีน

สีซอให้ควายฟัง เป็นสำนวนเราเคยได้ยินบ่อยๆ นอกจากที่ไทยเราแล้ว ทางจีนเองก็มีสำนวนที่ใกล้เคียงกัน แต่ก็มีข้อแตกต่างกัน ต่างกันอย่างไร ไปดูครับ

《 对牛弹琴》

            从前,有个叫公孙仪的人,非常善于弹琴。从他的琴声中能听出泉水涓涓,也能听出大海的怒涛;能听出秋虫的低鸣,也能听出小鸟婉转的歌唱。他弹奏欢快的曲调,会让人眉开眼笑;而悲哀的曲调,又使人心酸不已,甚至跟着琴声呜咽。凡是听过他弹琴的人,没有不被他的琴声打动的。

Cóngqián, yǒu gè jiào gōngsūn yí de rén, fēicháng shànyú tánqín. Cóng tā de qín shēng zhōng néng tīng chū quánshuǐ juānjuān, yě néng tīng chū dàhǎi de nùtāo ; néng tīng chū qiū chóng de dī míng, yě néng tīng chū xiǎo niǎo wǎnzhuǎn de
            一次,公孙仪在弹琴时,看见有几头牛在不远处吃草,不由得突发奇想:“我的琴声,听了的人都说好,牛会不会也觉得好呢?”于是,公孙仪就坐到牛旁边,弹了他最拿手的曲子《清角》。他的琴声美妙极了,任何人听了都会发出“此曲只应天上有,人间能得几回闻”的感慨。可是那些牛还是静静地低着头吃草,丝毫没有反应,就好像它们什么都没听到一样。 公孙仪想了想,又重新弹了一曲。这一次曲调变了,音不成音、调不成调,听上去实在不怎么样,像是一群蚊子扇动翅膀发出的“嗡嗡”声,中间似乎还夹杂着小牛“哞哞”的叫声。这回牛总算有了反应,纷纷竖起耳朵、甩着尾巴听了起来。琴声最终引起了牛的注意,是因为这个声音接近它所熟悉的东西。

Yīcì, gōngsūn yí zài tánqín shí, kànjiàn yǒu jǐ tóu niú zài bù yuǎn chù chī cǎo, bùyóudé tú fā qíxiǎng:“Wǒ de qín shēng, tīngle de rén dōu shuō hǎo, niú huì bù huì yě juédé hǎo ne?” Yúshì, gōngsūn yí jiùzuò dào niú pángbiān, dànle tā zuì


            后来,人们就用 “对牛弹琴” 这个成语来比喻有些人说话不看对象,对外行人说内行话,白白浪费了时间。

Hòulái, rénmen jiù yòng “duìniútánqín” zhège chéngyǔ lái bǐyù yǒuxiē rén shuōhuà bù kàn duìxiàng, duìwài háng rén shuō nèi hánghuà, báibái làngfèile shíjiān.

สีซอให้ควายฟัง(ดีดพิณให้วัวฟัง)

ในอดีตมีคนๆหนึ่งนามว่า “กงซุนอี๋” เขามีความชำนิชำนาญในการดีดพิณมาก เสียงเพลงของเขาทำให้ได้ยินเสียงน้ำแร่ที่ไหลริน ได้ยินคลื่นทะเลพิโรธ หรือเสียงต่ำของแมลงในยามสารทฤดู รวมถึงเสียงเพลงของเหล่าคณานกที่ร้องเพลง ทำนองเพลงที่บรรเลงอย่างร่าเริงก็ทำให้คนเบิกบานใจยิ้มแก้มปริ ทำนองเพลงที่เศร้าก็ทำให้คนโศกอาดูรระทมใจ ถึงขนาดร่ำไห้ไปกับเสียงพิณ ถ้าจะกล่าโดยทั่วไปใครที่เคยได้ฟังเขาบรรเลงเพลงไม่มีเลยที่จะถูกเสียงพิณโน้มน้าวจิตใจ


             คราหนึ่งขณะที่กงซุนอี๋กำลังบรรเลงพิณอยู่นั้น เขามองเห็นวัวสองสามตัวกำลังเล็มหญ้าอยู่ใกล้ๆ ทันใดนั้นเขาก็เกิดความคิดแปลกๆว่า “เสียงพิณของเรา ผู้ใดฟังแล้วล้วนแต่กล่าวว่าดี วัวจะคิดเช่นนี้ไหมหนอ” ดังนั้นเขาจึงนั่งลงที่ข้างๆวัว แล้วบรรเลงบทเพลงที่ชำนาญที่สุดคือเพลง “ชิงเจี่ยว” เสียงพิณของเขาไพเราะยิ่ง ผู้ใดฟังแล้วย่อมรู้สึกว่า “บทเพลงนี้คงมีอยู่เพียงแดนสวรรค์ โลกมนุษย์นั้นจะได้ยินอยู่กี่หน” หากแต่วัวพวกนั้นยังก้มหน้าแทะเล็มหญ้าอยู่เงียบๆ ไร้ซึ่งปฏิกิริยาโต้ตอบใดๆ ประหนึ่งว่ามันไม่ได้ยืนเสียอะไรทั้งสิ้น กงซุนอี๋คิดแล้วคิดอีกจึงได้ จึงได้เริ่มต้นบรรเลงใหม่อีกครั้ง ครานี้ท่วงทำนองเพลงเปลี่ยนไป ไม่เป็นเสียงไม่เป็นทำนอง ฟังไปแล้วก็รู้สึกก็แค่นั้น ประหนึ่งมีเสียงฝูงยุงกางปีกบินอยู่ หึ่งๆ ตรงกลางยังแทรกด้วยเสียงร้อง “มอๆ” ของเจ้าวัวน้อยอีก คราวนี้วัวถึงมีปฏิกิริยาตอบกลับ พากันหูตั้งชัน กวัดแกว่งส่ายหางไปมา ในที่สุดเสียงพิณก็ดึงดูดความสนใจวัวได้สำเร็จ เพราะว่าเป็นเสียงที่มันคุ้นเคยใกล้ชิด


                 ต่อมาผู้คนจึงใช้สำนวน “ดีดพิณให้วัวฟัง”มาเปรียบเปรยว่า มีบางคนที่ฟังคนอื่นแล้วไม่มองคู่สนทนา พูดเรื่องภายในให้คนนอกสาขาฟัง สูญเสียเวลาไปเปล่าประโยชน์

ผู้แปล ณรงค์ชัย จันทร์ปัญญา

ข้อมูลอ้างอิงจาก 对牛弹琴的道理及原文

อ่านบทความภาษาจีนที่น่าสนใจ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Facebook Messenger
error: ไม่สามารถคัดลอกได้ !!